ริเริ่ม รอบรู้ ประพฤติดี มีความรับผิดชอบ
ต้นกล้าแห่งวัฒนธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี
โครงสร้างบริหารโรงเรียน










ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนารูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยประยุกต์ใช้ทักษะ การเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์

ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยประยุกต์ใช้ทักษะ การเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์
เจ้าของผลงาน : นางอุบล หลงขาว
หมวดวิชา : ภาษาไทย
เอกสารดาวน์โหลด: 02.-บทคัดย่อไทย-RDไทย-น้องอุบล-2.pdf

 

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยประยุกต์ใช้ทักษะ                        
                     การเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์
                     สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย             นางอุบล  หลงขาว

ตำแหน่ง          ครู   วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ                         

หน่วยงาน        โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต

ปีที่วิจัย           2561

                            

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ      การสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ  4) ประเมินผลรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ในด้าน 4.1)ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  4.2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน   การวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ท2301 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะ    การคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริม   การคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสัมภาษณ์  6)  แบบประเมินการอ่านตามสภาพจริง                         7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบDependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

         

 

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะการเขียนได้แก่เนื้อหาในหนังสือหลักภาษาและการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 รายวิชาภาษาไทย ท23101 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียวระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2559 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2559) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ เรียนรู้หลักประจักษ์ภาษา 1) เรื่อง ประโยคซับซ้อน 2) เรื่อง ระดับภาษา 3) เรื่อง คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ 4) เรื่อง คำศัพท์       ทางวิชาการและวิชาชีพ 5) เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทย สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนหลักภาษาและการใช้ภาษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน จนไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ ได้ การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอนACARE Model นี้ ช่วยส่งเสริมทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถมีทักษะการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอนACARE Model มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และ สิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Activating) 2) ขั้นสร้างความรู้ความเข้าใจ Comstructing) 3) ขั้นคิดวิเคราะห์(Analyzing 4) ขั้นสรุปผล (Resulting) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับ ดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้กระบวนการเขียนสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน ACARE Model ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ช่วยให้พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.92/80.78

    4) ผลการประเมินรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผล     การเรียนรู้ความสามารถด้านการคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ2)  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนเรียนรู้หลักประจักษ์ภาษาโดยใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.65)

 

 

 

    ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒



ย้อนกลับ

โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว

ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๐/๒ ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๖-๒๑๑๔๖๓ โทรสาร ๐๗๖-๒๒๓๕๑๙
Email : info@bangneaw.ac.th , bangneaw450@gmail.com |
Website : www.bangneaw.ac.th

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สงวนลิขสิทธิ์
ออกแบบและพัฒนาโดย Kobiz Design Co., Ltd.

แผนที่โรงเรียน

ติดตามข่าวสารทาง